เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์
เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์

เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์

เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ (เยอรมัน: Erich Honecker; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2455 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537) เป็นอดีตประมุขแห่งรัฐของประเทศเยอรมนีตะวันออก ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จนถึง พ.ศ. 2532 ก่อนจะเกิดการทลายกำแพงเบอร์ลินเพียงเดือนเดียว เขาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นประธานสภาแห่งรัฐแทนวิลลี ชโตฟใน พ.ศ. 2519 และดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออก เขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตซึ่งสนับสนุนกองทัพในประเทศและการมีอำนาจของเขาเขาเริ่มต้นเส้นทางการเมืองในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยการเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี ทำให้เขาถูกพรรคนาซีจับกุมและถูกจำคุก[5] เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจึงได้รับอิสรภาพและเข้าสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้ง และเขาได้ก่อตั้งองค์กรเยาวชนของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี มีชื่อว่า เฟเรดอชท์เลจูเกน ใน พ.ศ. 2489 และเป็นประธานองค์กรนี้จนถึง พ.ศ. 2498 และเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเลขานุการฝ่ายความมั่นคงของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี เขามีส่วนสำคัญในการสร้างกำแพงเบอร์ลินใน พ.ศ. 2504[6] และยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการสั่งยิงผู้ที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศหรือข้ามฝั่งไปตามแนวกำแพงและชายแดน[7]ใน พ.ศ. 2513 เขาได้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับวิลลี ชโตฟ[6] โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากเลโอนิด เบรจเนฟ[6] ซึ่งทำให้เขาได้รับตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐและเป็นประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออกในเวลาต่อมา ภายใต้การปกครองของเขา เขาได้นำหลักการสังคมนิยมตลาดมาใช้และผลักดันเยอรมนีตะวันออกสู่ประชาคมโลกได้สำเร็จ[8] และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในฐานะนักการเมืองและประมุขแห่งรัฐของเขา[9]เมื่อความตึงเครียดในสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายลงในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และมิฮาอิล กอร์บาชอฟได้ใช้นโยบายเปเรสตรอยคา-กลัสนอสต์ ฮ็อนเน็คเคอร์ได้คัดค้านนโยบายนี้ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปบางอย่างในระบบการเมืองภายในประเทศ[10] ต่อมาประชาชนในประเทศเยอรมนีตะวันออกได้ประท้วงรัฐบาลของเขา[11][12] เขาได้เรียกร้องให้สหภาพโซเวียตสนับสนุนการปราบปรามผู้เห็นต่างและผู้ที่ออกมาชุมนุมดังกล่าว[12] แต่กอร์บาชอฟปฏิเสธ[12][13] ต่อมาเขาถูกบังคับให้ลาออกจากประธานสภาแห่งรัฐโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาล[14] แต่ได้ประสบความล้มเหลวและนำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออก และทั้งสองประเทศรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีจนถึงปัจจุบันหลังการรวมประเทศเยอรมนีใน พ.ศ. 2533 เขาพยายามหลบหนีออกนอกประเทศโดยทำเรื่องขอลี้ภัยที่สถานเอกอัครราชทูตชิลีในกรุงมอสโก แต่เขาได้ถูกส่งตัวกลับประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2535 เพื่อรับการพิจารณาคดีเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่เขายังเป็นประมุขแห่งรัฐ[15] แต่การดำเนินคดีดังกล่าวได้ยกเลิกเนื่องจากเขาป่วยเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย และเขาได้รับการปล่อยตัวไป เขาจึงลี้ภัยอยู่ในประเทศชิลีพร้อมครอบครัวของเขา และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 สิริอายุได้ 81 ปี[16][17]

เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์

ลายมือชื่อ
คู่สมรส ลอตเต กรุนด์ (สมรส ค.ศ. 2488; 2490)
อิดิธ บรูมัน (สมรส ค.ศ. 2490; หย่าปี 2496)[1][2]
มาร์ก็อต ฮ็อนเนคเคอร์ (2496–2537)[3][4][lower-alpha 1]
บุตร เอริกา (เกิด พ.ศ. 2493)
ซอนญา (เกิด พ.ศ. 2495)
ก่อนหน้า วิลลี ชโตฟ
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (2473–2489)
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (2489–2532)
พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (2533–2537)
เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2455
จักรวรรดิเยอรมัน
ถัดไป เอก็อน เคร็นทซ์
วิชาชีพ นักการเมือง
เสียชีวิต 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (81 ปี)
ซานติอาโก, ประเทศชิลี
สัญชาติ เยอรมัน

ใกล้เคียง

เอริช ฮาร์ทมัน เอริช ฟ็อน มันชไตน์ เอริช เค็สท์เนอร์ เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ เอริช ลูเดินดอร์ฟ เอริช เรเดอร์ เอริช มาเรีย เรอมาร์ค เอริช ฟ็อน ฟัลเคินไฮน์ เอริช เฟ็ลกีเบิล เอริช เฮิพเนอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ http://articles.chicagotribune.com/1990-10-28/news... http://www.bild.de/politik/inland/erich-honecker/w... http://www.dw-world.de/dw/article/0,2144,1673538,0... http://www.spiegel.de/spiegel/print/d-87818590.htm... http://www.calvin.edu/academic/cas/gpa/erich1.htm http://germanhistorydocs.ghi-dc.org/sub_document.c... http://www.osce.org/mc/58376 http://news.bbc.co.uk/2/hi/7902635.stm https://themomentum.co/erich-honecker-the-last-exi... https://www.bundesstiftung-aufarbeitung.de/wer-war...